ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode)
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
2.3 Multiple access points and roaming
โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
2.4 Use of an Extension Point
กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.5 The Use of Directional Antennas
ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกันผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายมีหลายชนิดต่าง ๆ
Access Point
เป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณไปยัง อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณในเครือข่าย โดยที่ตัว Access Point ทำหน้าที่เหมือนกับ Switch ในระบบเครือข่ายใช้สาย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางรุ่นที่ ทำหน้าที่เป็น Switch ให้กับระบบเครือข่ายใช้สายปกติ โดยจะมี Port RJ45 รวมอยู่ด้วย 4 - 8 Port นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความสามารถในการเป็น Print Server หรือ Router เข้าไปด้วย
PC Card (PCMCIA)
เป็นอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณที่ใช้ติดตั้งกับ Notebook เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อรับสัญญาณจาก Access Point หรืออุปกรณ์ไร้สายอื่น ๆ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับ Lan Card แบบ PCMCIA ทั่วไป
PCI Card
ใช้ติดตั้ง ลงบน PCI-Slot บนเครื่อง PC ลักษณะเดียวกับ NIC-Card (Lan Card) แต่ส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วย แทนการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง
USB
ใช้ติดตั้ง กับพอร์ต USB ทำงานในลักษณะเดียวกับ NIC-Card (Lan Card) แต่ส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วยแทนการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดงรูปแบบการติดตั้ง/ออกแบบเครือข่ายไร้สาย
เครือข่ายไร้สายแบ่งการทำงานออกเป็นสองลักษณะ คือ
1. Ad-Hoc Mode (also known as “peer-to-peer” mode)
คือการทำงานที่ปราศจาก AccessPoint โดยที่เครื่อคอมพิวเตอร์ ทุกตัว ติดตั้งอุปกรณ์ PC card หรือ PCMCIA ไว้ แล้วส่งสัญญาณหากัน ในลักษณะเดียวกับเครือข่ายสายทองแดง แบบ peer-to-peer
2. Infrastructure Mode
เป็นการทำงานในลักษณะที่ มีการติดตั้ง Access Point เข้าไปในระบบเครือข่ายสายทองแดง เพื่อกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ไร้สายอยู่ การทำงานในลักษณะนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายเนื่องจากสามารถใช้งานร่วมกับระบบสายทองแดง และยังดัดแปลงใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ไร้สายอื่นเพิ่มเติมมากเกินความจำเป็น
รูปแบบการใช้งาน
1. Access Point Mode
คือ การใช้งานโดยมี Access Point เชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายไร้สาย กับเครือข่ายสายทองแดง เป็นลักษณะการทำงานที่นิยมใช้กันมากที่สุด
2. Wireless Bridge (Point-to-Point)
เป็นการทำงานในลักษณะที่ มีการติดตั้ง Access Point เข้าไปในระบบเครือข่ายสายทองแดง เพื่อกระจายสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ไร้สายอยู่ การทำงานในลักษณะนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายเนื่องจากสามารถใช้งานร่วมกับระบบสายทองแดง และยังดัดแปลงใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ไร้สายอื่นเพิ่มเติมมากเกินความจำเป็น
3. Wireles Bridge Point-to-Multipoint
Wireless Access Point ทำงานในลักษณะเดียวกับ แบบ Point-to-Point คือ เชื่อมต่อเครือข่ายสายทองแดงเข้าด้วยกัน แต่มีการทำงานร่วมกันมากกว่าสองเครือข่าย ดังนั้น Wireless Access Point แต่ละตัว จะมีการรับส่งสัญญาณถึงกันโดยตรง
4. Repeater Mode
เนื่องจากการทำงานด้วยอุปกรณ์ไร้สาย ปัจจุบัน Wireless Access Point ปกติที่มีขายในท้องตลาด มีรัศมีการส่งสัญญาณภายในอาคารอยู่ที่ 90-120 เมตร และภายนอกอาคาร 300-400 เมตร ถ้าหากมีความต้องการใช้งานที่เกินกว่าข้อจำกัดนี้ จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่ม Access Point เข้าไปเพื่อทำการทวนสัญญาณ ให้ได้ระยะทางการส่งข้อมูลที่ไกลกว่าเดิม แต่การทำงานในลักษณะนี้ ทำให้เครือข่ายทั้งสองติดต่อกันด้วยความเร็วไม่แน่นอนและประสิทธิภาพการทำงานลดลง จึงมีการผลิต อุปกรณ์ไร้สายที่ส่งสัญญาณได้ไกลกว่าปกติขึ้น หรืออาจมีการติดตั้ง เสาอากาศชนิดพิเศษเข้าไปเพื่อเพิ่มระยะทาง ได้อีกทางเลือกหนึ่ง
5. Wireless LAN Client
ในโมเดลการทำงานนี้ เป็นการส่งสัญญาณจากเครือข่ายโดย Wireless Access Point ไปยัง Wireless Access Point อีกตัวหนึ่งที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เสมือนกับว่า Access Point ตัวนั้น ทำงานเป็น อุปกรณ์ไร้สาย (PCI, PCMCIA, USB) อาจใช้ในช่วงเริ่มต้น เพื่อขยายจำนวนผู้ใช้งานไร้สาย ในอนาคต